เดินทางเพื่อสรรค์สร้าง ‘ชุมชนเมือง’

mitrans

เดินทางเพื่อสรรค์สร้าง ‘ชุมชนเมือง’   เข้าสู่อีกจังหวะก้าวสำคัญ ‘วิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร’ หรือ วชม. เตรียมจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2558 นี้ เพื่อสร้างความแตกต่างและหนุนเสริมให้เกิดโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯตั้งแต่ในระดับ ‘ชุมชน’ ในการเตรียมการดังกล่าว คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยและผู้บริหารวิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานครจะเดินทางไปแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับสถาบันการศึกษาในประเทศร่วมอาเซียนคือสิงคโปร์และมาเลเซีย สำหรับกำหนดการสำคัญในการเดินทาง คณะผู้บริหารจะไปเยือน NanyangTechnological University ประเทศสิงคโปร์  Selayang Community College และ Malaysia Institue of Transport(MITRANS) ที่ประเทศมาเลเซีย ขณะที่การสัมมนาเชิงปฏิบัติการในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2558 นี้ จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา 4 ท่าน จากมหาวิทยาลัยในสหรัฐมาร่วมเป็นวิทยากรและแลกเปลี่ยนความเห็น เพื่อนำไปสู่การสร้างหลักสูตรและกำหนดทิศทางของ วชม.ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชนเมืองกรุงเทพมหานครต่อไป สำหรับสหรัฐ สถาบันการศึกษาของชุมชนนับว่ามีส่วนอย่างมากซึ่งช่วยให้เยาวชนหรือผู้ที่พลาดโอกาสทางการศึกษาสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่ใช่เพียงการพัฒนาเพื่อให้ ‘มีอาชีพ’ เท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ที่สามารถทำให้ผู้เรียนขยับเข้าสู่โอกาสใหม่ๆและหลากหลายได้   เกี่ยวกับ ‘โครงสร้างการศึกษาไทย’ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการ เรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) เปิดเผยว่า  เด็กที่มีฐานะยากจนกว่าร้อยละ 60 ซึ่งมีระดับการศึกษาต่ำกว่าชั้น ม.6 ละทิ้งการเรียน… Read more »

by

ยากจนทำเด็กไทยเกินครึ่งเลิกเรียนสู่ตลาดแรงงาน

ex

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน สำรวจพบข้อมูลน่าตกใจ เมื่อมีเด็กไทยกว่าร้อยละ 60 มีคุณวุฒิการศึกษาต่ำกว่า ม.6 ก้าวสู่ระบบแรงงานเพราะความยากจน  นายไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการ เรียนรู้และคุณภาพเยาวชน หรือ สสค. เปิดเผยว่า  เด็กที่มีฐานะยากจนกว่าร้อยละ 60 ซึ่งมีระดับการศึกษาต่ำกว่าชั้น ม.6 ละทิ้งการเรียน เพื่อก้าวเข้าสู่ระบบแรงงาน จากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ต้องหารายได้เลี้ยงปากท้องด้วยตัวเอง  ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการ จึงควรเร่งปรับปรุงหลักสูตร ให้เด็กสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น ประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ได้นำรูปแบบ ‘Career Academy’ มาใช้ในการจัดระบบการศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการเปิดหลักสูตรให้เด็กที่กำลังเรียนหนังสือ สามารถเลือกฝึกงานในสถานประกอบการ เพื่อพัฒนาทักษะของตนเองได้ ดังนั้น ผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จะต้องทำงานร่วมกับผู้ประกอบการในพื้นที่ โดยหารือว่า จะฝึกฝนทักษะให้แก่เด็กในทิศทางใด เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่ จากนั้นเมื่อเด็กจบการศึกษา ก็จะสามารถทำงานในพื้นที่ได้ทันที ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการตกงาน ที่มา : http://news.voicetv.co.th/thailand/160959.html งานประชาสัมพันธ์โทร 02 244 3860Email:askans.rector@gmail.com

by