เดินทางเพื่อสรรค์สร้าง ‘ชุมชนเมือง’

 

Nanyang-Technological-University5 mitrans

เข้าสู่อีกจังหวะก้าวสำคัญ ‘วิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร’ หรือ วชม. เตรียมจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2558 นี้ เพื่อสร้างความแตกต่างและหนุนเสริมให้เกิดโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯตั้งแต่ในระดับ ‘ชุมชน’ ในการเตรียมการดังกล่าว คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยและผู้บริหารวิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานครจะเดินทางไปแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับสถาบันการศึกษาในประเทศร่วมอาเซียนคือสิงคโปร์และมาเลเซีย

สำหรับกำหนดการสำคัญในการเดินทาง คณะผู้บริหารจะไปเยือน NanyangTechnological University ประเทศสิงคโปร์  Selayang Community College และ Malaysia Institue of Transport(MITRANS) ที่ประเทศมาเลเซีย ขณะที่การสัมมนาเชิงปฏิบัติการในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2558 นี้ จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา 4 ท่าน จากมหาวิทยาลัยในสหรัฐมาร่วมเป็นวิทยากรและแลกเปลี่ยนความเห็น เพื่อนำไปสู่การสร้างหลักสูตรและกำหนดทิศทางของ วชม.ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชนเมืองกรุงเทพมหานครต่อไป

สำหรับสหรัฐ สถาบันการศึกษาของชุมชนนับว่ามีส่วนอย่างมากซึ่งช่วยให้เยาวชนหรือผู้ที่พลาดโอกาสทางการศึกษาสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่ใช่เพียงการพัฒนาเพื่อให้ ‘มีอาชีพ’ เท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ที่สามารถทำให้ผู้เรียนขยับเข้าสู่โอกาสใหม่ๆและหลากหลายได้

  เกี่ยวกับ โครงสร้างการศึกษาไทย

  • สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการ เรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) เปิดเผยว่า  เด็กที่มีฐานะยากจนกว่าร้อยละ 60 ซึ่งมีระดับการศึกษาต่ำกว่าชั้น ม.6 ละทิ้งการเรียน เพื่อก้าวเข้าสู่ระบบแรงงาน จากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ต้องหารายได้เลี้ยงปากท้องด้วยตัวเอง  จึงมีข้อเสนอให้ กระทรวงศึกษาธิการเร่งปรับปรุงหลักสูตร ให้เด็กสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้
  • การว่างงานตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มวัยเยาวชน หรือผู้มีอายุระหว่าง 15-24 ปี มีอัตราการว่างงานร้อยละ 2.7 ซึ่งปกติในกลุ่มนี้อัตราการว่างงานสูง (สำนักงานสถิติแห่งชาติ ,2556 )
  • บัณฑิตตกงาน (อายุ 25 ปี ขึ้นไป) คือ กลุ่มผู้ว่างงานมากที่สุด มีจำนวน 1.04 แสนคน สาเหตุที่ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีแนวโน้มว่างงานมากขึ้น คือ แนวโน้มการผลิตกำลังคนระดับปริญญาตรี มีการผลิตเกิน เฉลี่ยระหว่างปี 2555-2559 ที่สูงถึงปีละ 47,256 คน ขณะที่ตลาดแรงงานมีความต้องการบุคลากรสายอาชีพทักษะปานกลาง เช่น ปวช. เฉลี่ยปีละ 21,750 คน
  • หากเปรียบเทียบกับภาคต่างๆ กรุงเทพมหานครมีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นมากที่สุด (สำนักงานสถิติแห่งชาติ,2556)
  • ในหลายประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษหรือสหรัฐอเมริกา ได้นำรูปแบบ ‘Career Academy’ มาใช้ในการจัดระบบการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการเปิดหลักสูตรให้เด็กที่กำลังเรียนหนังสือ สามารถเลือกฝึกงานในสถานประกอบการ เพื่อพัฒนาทักษะของตนเองได้

งานประชาสัมพันธ์
โทร 02 244 3860
Email:askans.rector@gmail.com

Posted by & filed under ข่าวประชาสัมพันธ์.