อนุมัติทุนวิจัย 2 รายแรกของ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

IMG_6922

อนุมัติทุนวิจัย 2 รายแรก   นางวราภรณ์ สีหนาท รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มอบทุนวิจัยให้กับแพทย์ 2 รายแรกของ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ได้แก่ นายแพทย์กลวิชย์ ตรองตระกูล อนุมัติทุนวิจัยวงเงิน 145,000 บาท สำหรับโครงการอุบัติการณ์และผลการรักษาภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันในผู้ป่วยหนัก ในหอผู้ป่วยวิกฤตเวชศาสตร์ฉุกเฉินและศัลยกรรม และแพทย์หญิงธนันดา ตระการวานิช อนุมัติทุนวิจัย วงเงิน 40,000 บาทโครงการสอบ Formative ด้วยข้อสอบแบบดั้งเดิม เทียบกับข้อสอบแบบ problem based ในการช่วยประเมินการเรียนของนักศึกษาแพทย์ เมื่อวันที่ 9 ก.ค.2558 งานประชาสัมพันธ์ โทร 02 244 3860 Email:askans.rector@gmail.com

by

โรคป่วง อาการป่วยจากยุคโบราณที่อาจถึงตายได้ !

P_1

โรคป่วง อาการป่วยจากยุคโบราณที่อาจถึงตายได้ !     โรคป่วง อาการของโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและภาวะแสลงอาหาร หรือที่คุ้นเคยกันดีในอาการอาหารเป็นพิษนั่นเอง โรค ป่วง ชื่อโรคที่เห็นแวบเดียวก็รู้แล้วว่าคงเป็นโรคที่มีมาแต่โบราณ และแม้โรคป่วงจะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ความรุนแรงของอาการก็ถือว่าต้องระวัง เพราะคนไข้อาจเสียน้ำมากจนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ วันนี้เราจึงนำข้อมูลโรคป่วงมาบอกต่อ เพราะจะว่าไปโรคป่วงก็เป็นโรคภัยที่ใกล้ตัวเราไม่เบาเลยล่ะ โรคป่วงหรือไข้ป่วงคือ โรคป่วยเป็นโรคที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งต้องบอกว่าในยุคนั้นที่มีโรคป่วงระบาดใหม่ ๆ ไข้ป่วงก็คร่าชีวิตประชาชนไปไม่น้อย เนื่องจากโรคป่วงเป็นโรคที่เกี่ยวกับอาหารการกินที่ส่งผลต่อไปยังระบบทาง เดินอาหาร หรือที่โบราณเรียกว่า อาการธาตุผิดสำแดง แสลงโรค สาเหตุของโรคป่วง โรคป่วงเกิดจากการกินอาหารที่ผิดสำแดงหรืออาหารมีพิษ ไม่ถูกสุขลักษณะมากพอจนทำให้กระเพาะอาหารติดเชื้อ เกิดอาการถ่ายท้องได้ อาการของโรคป่วง ผู้ป่วยโรคป่วงในระยะเริ่มต้นอาจมีอาการปวดมวนท้อง ถ่ายเหลว และอาจมีลมในกระเพาะร่วมกับอาการอาเจียนตามมา เนื่องจากอาหารที่ผิดธาตุ กินอาหารที่กระเพาะไม่คุ้นเคยมาก่อน หรือในบางรายที่มีอาการของโรครุนแรง ก็อาจมีอาการถ่ายท้องอย่างหนักร่วมกับอาการอาเจียน ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยโรคป่วงอาจสูญเสียน้ำในร่างกายจนตายได้ แต่ จะว่าไปแล้วอาการของโรคป่วงก็คล้ายอาการของโรคอหิวาตกโรค เพียงแต่ความรุนแรงมีน้อยกว่า ทว่าในบางรายอาจมีอาการตะคริวที่ปลายมือ ปลายเท้า ท้องเสีย และอาเจียน ซึ่งโบราณจะเรียกอาการเหล่านี้ว่า สันนิบาตคลองสอง คือ ทั้งลงและทั้งราก ออกทั้งปากและรูทวารนั่นเอง โรคป่วง รักษาอย่างไร สำหรับผู้ป่วยโรคป่วงที่มีอาการอาเจียนเบา ๆ… Read more »

by

ผลการประกวดแต่งเพลงประจำมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

ประกาศผลประกวดแต่งเพลง 96x96

ผลการประกวดแต่งเพลงประจำมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ประเภทที่ 1 เพลงมหาวิทยาลัย รางวัลที่ 1 ผลงาน มาร์ชนวมินทราธิราช เจ้าของผลงาน คุณยุทธพล กล้าสงคราม รางวัลที่ 2 ผลงาน มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เจ้าของผลงาน คุณเจริญศักดิ์ เลิศมงคล รางวัลที่ 3 ผลงาน นวมินทร์ฯ รวมใจ เจ้าของผลงาน คุณฐิติวัฒน์ ตั้งอยู่สวัสดิ์   ประเภทที่ 2 เพลงเชียร์ รางวัลที่ 1 ผลงาน NMU สู้สุดใจ เจ้าของผลงาน คุณปัณณวัชญ์ ทัดศรี รางวัลที่ 2 ผลงาน นวมินทร์ฯ นำชัย(Glorious Green) เจ้าของผลงาน คุณวรานุช หาญสืบสาย รางวัลที่ 3 ผลงาน ลูกพระอินทร์คว้าชัย เจ้าของผลงาน คุณยุทธพล กล้าสงคราม              … Read more »

by

มารู้จักกับ “โรคพีเอมอาร์” ในผู้สูงอายุ

640_89kikaihjaff9je7b6fie

มารู้จัก “โรคพีเอมอาร์” ในผู้สูงอายุ   โรคพีเอมอาร์ หรือโรคปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนเหตุอักเสบเรื้อรัง เรามักไม่ค่อยคุ้นเคยกับชื่อของโรคนี้นัก แต่โรคนี้มักเกิดในผู้สูงอายุ โดยมีอาการปวดเมื่อยทั่วตัว อ่อนเพลีย และมีไข้ต่ำๆ ซึ่งเมื่อพบแพทย์มักตรวจไม่พบโรค ทำให้เกิดการทรุดและติดเชื้อจากการใช้ยาชุดที่ซื้อมาทานเองได้ สาเหตุของการเกิดโรค – เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของกล้ามเนื้อ เอ็น เนื้อเยื่ออ่อน และข้อต่างๆ – เกิดจากปัจจัยด้านพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม – พบในผู้หญิงบ่อยกว่าผู้ชาย และมักพบในผู้มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป – พบในช่วงฤดูร้อนมากกว่าช่วงฤดูหนาว และอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดร่วมด้วย   อาการของโรค – ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ เคลื่อนไหวลำบาก – ปวดร้าวบริเวณไหล่ สะโพก คอ ข้อศอก และข้อเข่า – รู้สึกกล้ามเนื้อยึดตึงในช่วงเช้าหลังตื่นนอนนานมากกว่า 30 นาที – อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีไข้ต่ำ   การป้องกันโรค โรคพีเอมอาร์ เป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้… Read more »

by

ผลิต Care Manager ดูแลผู้สูงอายุเมือง

S__10575877

ผลิต Care Manager ดูแลผู้สูงอายุเมือง   มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชจับมือกระทรวงสาธารณสุขและกรุงเทพมหานคร ระดมพยาบาลวิชาชีพ และบุคลากรด้านสาธารณสุขภาครัฐทุกสังกัด อบรม Care Manager เพื่อยกระดับการดูแลผู้สูงอายุในเมือง การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ นับเป็นปัญหาท้าทายระบบสุขภาพของประเทศไทยที่สำคัญ ในปี 2556 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากถึง 9.6 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมด คาดการณ์ว่าประมาณปี 2561 ประชากรสูงอายุจะมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเมื่อคนยิ่งมีอายุมากขึ้น ก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย และความพิการหรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยเฉพาะโรคของผู้สูงอายุมักจะเป็นโรคเรื้อรังซึ่งต้องการการดูแลใกล้ชิดระยะยาว ในปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายทีมหมอครอบครัวเพื่อให้แพทย์ พยาบาล และทีมสหวิชาชีพ รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ร่วมกันให้การดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการที่ติดบ้าน ติดเตียง ที่ต้องได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพและได้รับการช่วยเหลือทางด้านสังคม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร) ในการสร้างเมืองแห่งความสุข โดยให้ยกระดับการดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร เร่งรัดให้เกิดชุมชนต้นแบบในการให้การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ซึ่งการพัฒนาบุคลากรวิชาชีพที่จะมาทำหน้าที่ผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Care Manager :CM) นับเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ รศ.ดร.ทัศนีย์ ทองประทีป… Read more »

by

ทำความรู้จักกับ “MERS” เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่

201506151619247161_X620

MERS (เมอร์ส) ไวรัสมรณะ ทำความรู้จักกับ “เมอร์ส” (MERS) เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ อันตรายกว่าที่เคยพบมา มันสามารถปลิดชีพคุณได้ในเวลาเพียงไม่นาน! ต้นกำเนิดของโรค…? เมอร์ส หรือ เมอร์สคอฟ มีชื่อภาษาอังกฤษแบบเต็มๆ ว่า Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV) หรือโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ตะวันออกกลาง ซึ่งบางครั้งเรียกว่า “โรคไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012″ เนื่องจาก พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อครั้งแรกเมื่อปี 2012 ในประเทศ ซาอุดิอาระเบีย พาหะนำโรค เมอร์สมีลักษณะคล้ายโรคซาร์ส แต่มีความรุนแรงมากกว่าเป็นเท่าตัว โดยมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ‘ไวรัสโคโรน่า’ (corona virus) ไวรัสชนิดนี้จะมีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์เป็นไวรัสที่ติดเชื้ออยู่บริเวณส่วนต้นของทางเดินหายใจในคน เป็นสาเหตุอาการโรคหวัดทั่วๆ ไป แต่บางสายพันธุ์เป็นไวรัสที่ติดเชื้อในสัตว์เลี้ยง/สัตว์ป่า เช่น อูฐ และค้างคาว จากนั้นไวรัสชนิดนี้ได้มีการพัฒนาจนสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ อาการเมื่อติดโรค ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวสั่น ไอ หายใจไม่สะดวก อุจจาระเหลว หากเป็นหนักจะเสียชีวิตทันทีภายใน 3 -4 สัปดาห์… Read more »

by

อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหานายกสภาฯ

ex

อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหานายกสภาฯ เนื่องจากศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จะครบวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558  สภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ในการประชุมครั้งที่ 6/2558 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2558 จึงมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย ตามที่กำหนดในข้อบังคับของมหาวิทยาลัยว่าด้วยคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การได้มาซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช พ.ศ.2554 คณะกรรมการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย ที่สภาฯแต่งตั้งมี 5 คน ประกอบด้วย 1.กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน ได้แก่ ศาสตราจารย์สุรพล นิติไกรพจน์ 2. กรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง 2 คน ได้แก่ อธิการบดี  และ ประธานสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัย 3. กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณบดีและผู้อำนวยการวิทยาลัย 1 คน ได้แก่ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ และ 4. กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ 1 คน ได้แก่ อาจารย์จันทรรัตน์ วงศ์อารีย์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลจิตเวชศาสตร์… Read more »

by

สภามหาวิทยาลัย นมร.อนุมัติตำแหน่ง ผศ.

ex

สภามหาวิทยาลัย นมร.อนุมัติตำแหน่ง ผศ.      ในการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 6/2558 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2558 ที่ประชุมได้มีมติอนุมัติแต่งตั้งให้อาจารย์สว่างจิต สุรอมรกุล ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2558 เป็นต้นไป และอนุมัติแต่งตั้งให้อาจารย์บุญทิวา สู่วิทย์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2558 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้งศาสตราจารย์เยื้อน ตันนิรันดร จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยแทนศาสตราจารย์บุญชอบ พงษ์พาณิชย์ ที่ได้ลาออก งานประชาสัมพันธ์ โทร 02 244 3860 Email:askans.rector@gmail.com

by