โรคป่วง อาการป่วยจากยุคโบราณที่อาจถึงตายได้ !
โรคป่วง อาการของโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและภาวะแสลงอาหาร หรือที่คุ้นเคยกันดีในอาการอาหารเป็นพิษนั่นเอง
โรค ป่วง ชื่อโรคที่เห็นแวบเดียวก็รู้แล้วว่าคงเป็นโรคที่มีมาแต่โบราณ และแม้โรคป่วงจะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ความรุนแรงของอาการก็ถือว่าต้องระวัง เพราะคนไข้อาจเสียน้ำมากจนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ วันนี้เราจึงนำข้อมูลโรคป่วงมาบอกต่อ เพราะจะว่าไปโรคป่วงก็เป็นโรคภัยที่ใกล้ตัวเราไม่เบาเลยล่ะ
โรคป่วงหรือไข้ป่วงคือ
โรคป่วยเป็นโรคที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งต้องบอกว่าในยุคนั้นที่มีโรคป่วงระบาดใหม่ ๆ ไข้ป่วงก็คร่าชีวิตประชาชนไปไม่น้อย เนื่องจากโรคป่วงเป็นโรคที่เกี่ยวกับอาหารการกินที่ส่งผลต่อไปยังระบบทาง เดินอาหาร หรือที่โบราณเรียกว่า อาการธาตุผิดสำแดง แสลงโรค
สาเหตุของโรคป่วง
โรคป่วงเกิดจากการกินอาหารที่ผิดสำแดงหรืออาหารมีพิษ ไม่ถูกสุขลักษณะมากพอจนทำให้กระเพาะอาหารติดเชื้อ เกิดอาการถ่ายท้องได้
อาการของโรคป่วง
ผู้ป่วยโรคป่วงในระยะเริ่มต้นอาจมีอาการปวดมวนท้อง ถ่ายเหลว และอาจมีลมในกระเพาะร่วมกับอาการอาเจียนตามมา เนื่องจากอาหารที่ผิดธาตุ กินอาหารที่กระเพาะไม่คุ้นเคยมาก่อน หรือในบางรายที่มีอาการของโรครุนแรง ก็อาจมีอาการถ่ายท้องอย่างหนักร่วมกับอาการอาเจียน ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยโรคป่วงอาจสูญเสียน้ำในร่างกายจนตายได้
แต่ จะว่าไปแล้วอาการของโรคป่วงก็คล้ายอาการของโรคอหิวาตกโรค เพียงแต่ความรุนแรงมีน้อยกว่า ทว่าในบางรายอาจมีอาการตะคริวที่ปลายมือ ปลายเท้า ท้องเสีย และอาเจียน ซึ่งโบราณจะเรียกอาการเหล่านี้ว่า สันนิบาตคลองสอง คือ ทั้งลงและทั้งราก ออกทั้งปากและรูทวารนั่นเอง
โรคป่วง รักษาอย่างไร
สำหรับผู้ป่วยโรคป่วงที่มีอาการอาเจียนเบา ๆ อาจกินยาบรรเทาอาการอาเจียนรักษาอาการไปก่อนในเบื้องต้น หรือหากมีอาการตะคริวร่วมด้วย ควรประคบร้อนยังบริเวณที่เป็นตะคริว ทว่าหากคนไข้มีถ่ายท้องอย่างรุนแรง อ่อนเพลีย และอาเจียนอย่างหนัก ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
สมุนไพรรักษาโรคป่วง
ด้วย ความที่เป็นโรคที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ จึงมีการนำสมุนไพรมารักษาอาการป่วงอยู่บ้าง โดยใช้แว่นสน จันทน์เทศ เทพธาโร ขิงแห้ง แห้วหมู ลูกผักชี มะตูมอ่อน รากช้าพลู หญ้าตีนนก รากแฝกหอม หัวหอม หัวตะไคร้ ผลยอเผาไฟพอสุก อย่างละ 15 กรัมมาต้มน้ำจนเดือดแล้วกรองเอาแต่น้ำมาจิบบ่อย ๆ
นอกจากตัวยาที่กลั่นจากสมุนไพรสำหรับรักษาโรคป่วงแล้ว สูตรยาหม้อสำหรับรักษาโรคป่วงก็มีด้วยเช่นกัน โดยนำกำมะถันเหลือง ผิวส้มโอ รากต่อไส้ รากหวายลิง นมจาก อย่างละเท่า ๆ กัน มาต้มให้เดือด แล้วกรองเอาแต่น้ำมาดื่มครั้งละ 3-4 ช้อนโต๊ะ ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง
และไม่เพียงแต่โรคป่วงหรือไข้ป่วงที่มีอาการถ่ายท้องเท่านั้น อาการทางเลือดลมที่เรียกว่าโรคลมป่วงก็ควรศึกษาข้อมูลไว้เช่นกัน ดังนี้
โรคลมป่วง
จากข้อมูลระบุว่า โรคลมป่วงเกิดจากอาการอาหารไม่ย่อย ทำให้ปวดมวนท้อง เคสหนักอาจปวดท้องจนตัวบิดงอ มีอาการอาเจียน เสียดสีข้าง น้ำลายไหล ปวดเมื่อเนื้อตัว ต้นคอ บ่า หลัง แข้งขา หรือมีอาการปวดเวียนศีรษะและเหนื่อยหอบร่วมด้วย ซึ่งอาการโรคลมป่วงมักจะเกิดกับผู้สูงอายุ ที่ระบบการย่อยอาหารเริ่มทำงานได้ช้าลง จนทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อย เลือดจะไปลมจะมา
สมุนไพรรักษาลมป่วง
คน โบราณมักใช้ตัวยาจากสมุนไพรรักษาโรคลมป่วงซึ่งได้แก่ แห้วหมูนา แก่นสะเดา ผลผักชี ลูกสัก แก่นสน อย่างละ 23 กรัม ขมิ้นชัน 3 แว่น ขมิ้นอ้อย 3 แว่น นำมาใส่หม้อต้ม เติมน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน รับประทานเช้า-เย็น ครั้งละครึ่งแก้ว เชื่อว่าจะรักษาโรคลมป่วงได้ชะงัด
ไม่ ว่าจะโรคป่วง ไข้ป่วง หรือลมป่วง ก็มักเกิดจากการกินอาหารผิดสำแดงจนส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารของเรานั่น เองนะคะ ฉะนั้นพยายามกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะและกินให้อิ่มแต่พอดีน่าจะปลอดภัยต่อ สุขภาพมากกว่า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
มูลนิธิสุขภาพไทย