อ.ก.ก.อนุมัติเงินประจำตำแหน่ง แก่ข้าราชการกรุงเทพมหานคร
อ.ก.ก.อนุมัติเงินประจำตำแหน่ง และตำแหน่งชำนาญการ-ชำนาญการพิเศษ แก่ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ สังกัดคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชขอแสดงความยินดีกับข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ที่ได้รับการอนุมัติเงินประจำตำแหน่งและการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น ตามมติของคณะอนุกรรมการสามัญข้าราชการกรุงเทพมหานคร (อ.ก.ก.) ซึ่งปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ครั้งที่ 2/2558 วันที่ 25 ก.พ.2558 ซึ่งที่ประชุมมีมติเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. อนุมัติให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ สังกัดคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชได้รับเงินประจำตำแหน่ง 9 ราย ประกอบด้วย สายงานแพทย์ 1 ราย ได้แก่ นายพลพร อภิวัฒนเสวี นายแพทย์ชำนาญการ (ด้านเวชกรรม สาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา) ตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค.57 สายงานรังสีการแพทย์ 1 ราย ได้แก่นางสุมลมาลย์ วรพิพัฒน์ นักรังสีการแพทย์ชำนาญการ (ด้านบริการทางการแพทย์) ตั้งแต่วันที่ 28 ต.ค.57 สายงานพยาบาลวิชาชีพ สังกัดฝ่ายการพยาบาล 3 รายได้แก่… Read more »
by
วิพากษ์-สร้างเครือข่ายหลักสูตร วชม.
วิพากษ์-สร้างเครือข่ายหลักสูตร วชม. วิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมการสัมมนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาและประเมินหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดรับตลาดแรงงาน พร้อมสร้างเครือข่ายจัดการหลักสูตรร่วมกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ ดร.พิทยา ชินะจิตพันธุ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร (วชม.) กล่าวว่า สืบเนื่องจากที่ ดร.พิจิตต รัตตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และคณะเดินทางไปศึกษาระบบการเรียนการสอนของวิทยาลัยชุมชนและมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ Los Angeles City College,East Los Angeles College,Pasadena City College,University of Southern California,ฺBrigham Young University (Provo and Hawaii) LDS Business College และ Windward Community College และได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับ Brigham Young University (Hawaii) เพื่อจัดกิจกรรมและความร่วมมือในเรื่องการจัดฝึกอบรมระยะสั้นนั้น ในระยะแรกจะมีการเชิญผู้แทนจากส่วนงานต่าง ๆ ที่มีความร่วมมือทางการศึกษาและวิชาการกับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มาวิเคราะห์และวิพากษ์หลักสูตรของวิทยาลัย การบูรณาการจัดการความรู้สู่ชุมชน เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการหลักสูตร และให้คำปรึกษาด้านวิชาการและประเมินหลักสูตรการเรียนการสอนของวิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน ตลาดแรงงานและกรุงเทพมหานคร โดยนำผลสรุปที่ได้เข้าสู่กระบวนการสัมมนาจัดการองค์ความรู้ในระยะที่สองการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาหลักสูตรและความร่วมมือในรูปแบบเครือข่ายด้วยการเชิญผู้แทนจากสถาบันในสหรัฐอเมริกามาระดมความคิดเห็นและตกผลึกเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรวิทยาลัย… Read more »
by
สัมภาษณ์พิเศษ ‘ธัญวิทย์ นิลพุฒ’ : นักศึกษา ‘พยาบาลเกื้อฯ’
เรื่อง/ภาพ : ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง สายลมโชยพัดเฉื่อยฉิว ทิวไม้ใหญ่เรียงรายสลับกับบ้านเรือนปลูกยาวไปตามชายคลอง ตะวันขยับสูงขึ้นไปใกล้เที่ยงแล้ว แต่ที่ ‘ชุมชนบ้านพักรถไฟบางซื่อ’ แห่งนี้กลับดูสงบสุขุมตัดกับภาพทั่วไปของกรุงเทพที่ดูเร่งร้อนแบบเมืองใหญ่ ยิ่งในยามนี้หนุ่มสาวแทบทุกครัวต่างมีภาระต้องออกไปทำงาน บ้านพักหลายหลังจึงมีเพียงผู้สูงวัยกับเด็กน้อยวัยก่อนเรียนวิ่งเล่นสนุกกันรอบบ้าน ที่นี้เอง ‘ธัญวิทย์ นิลพุฒ’ หรือคิม นักศึกษาชั้นปีที่ 4 กับเพื่อนๆจากคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กำลังฝึกปฏิบัติงานในรายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุกันอยู่ และบทสนทนาของเรากับเขาก็เริ่มต้นขึ้น “การเปลี่ยนมุมมองทัศนคติเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ต้องมองว่าผู้สูงอายุเป็นผู้มีความรู้ ดูแลตัวเองได้ มีประสบการณ์ อยากให้บ้านใดที่มีผู้สูงอายุเสริมคุณค่าผู้สูงอายุเป็นปูชนียบุคคล เป็นที่พึ่งของลูกหลาน ซึ่งประสบการณ์ของท่านจะช่วยเราได้ไม่มากก็น้อย” ปกติเรามักเห็นพยาบาลประจำตามโรงพยาบาลมากกว่า มาที่นี่ได้เห็นพยาบาลลงไปทำงานในชุมชนด้วย ทำไมงานแบบนี้จึงสำคัญ ความคิดเรื่องการลงชุมชนของพยาบาลมีมานานแล้วครับ เพราะมองว่าการสร้างนำซ่อมย่อมดีกว่า การที่เราป้องกันการเกิดโรคดีกว่าการรักษาโรคอยู่แล้ว ซึ่งการมาในชุมชนนั้นไม่ใช่แค่การเยี่ยมหรือตามเคสต่อจากการรักษาในโรงพยาบาล พอเสร็จแล้วกลับ แต่การลงชุมชนเป็นบทบาทในการป้องกัน ส่งเสริม หรือรักษาฟื้นฟูเบื้องต้น ประโยชน์คือเราได้ดูบริบทของสังคมของครอบครัวเขาว่า ทำไมคนไข้บางคนจึงต้องกลับไปโรงพยาบาลซ้ำๆ ด้วยโรคเดิมๆ ซึ่งบางทีอาจเป็นเงื่อนไขด้านพฤติกรรมสุขภาพของคนไข้ที่อยู่ในสิ่งแวลดล้อมแบบนี้ ทำให้ไม่สามารถแก้ไขได้จึงต้องกลับไปโรงพยาบาล เรามาดูว่าเขาอยู่อย่างไร ขณะเดียวกันเราก็ค้นหาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคด้วย เมื่อได้ความเสี่ยงก็จัดการความเสี่ยงเหล่านั้น เช่น ถ้ามีคนไข้เป็นเบาหวาน… Read more »
by
All Thai Taxi สมาร์ทแท็กซี่รุกตลาด ‘คนเมือง’
All Thai Taxi สมาร์ทแท็กซี่รุกตลาด ‘คนเมือง’ น่าจับตาไม่น้อยสำหรับอีกรูปแบบบริการของ ‘นครชัยแอร์’ ที่หันมาจับตลาดใหม่ โดยร่วมมือกับกรมขนส่งทางบก นำโครงการสมาร์ทแท็กซี่ภายใต้ชื่อ All Thai Taxi มารุกตลาด ‘คนเมือง’โดยนำสไตล์ที่คล้ายกับ Uber หรือ Grab Taxi ที่ได้รับกระแสตอบรับอย่างดีมาใช้ ในขณะที่แท็กซี่ทั่วไปรูปแบบเดิมที่มีเกลื่อนเมืองยังคงเต็มไปด้วยปัญหาไม่ว่าคุณภาพชีวิตของคนขับแท็กซี่ที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อค่าครองชีพหรือผู้รับบริการที่เชื่อว่าทุกคนย่อมต้องเคยถูกปฏิเสธกันมาแล้วถ้วนหน้า ซึ่งคงทำให้เสียความรู้สึกและเสียงานเสียการกันไปไม่น้อย นครชัยแอร์นั้นเดิมเป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มธุรกิจรถทัวร์สายเหนือและอีสานที่เปลี่ยนภาพลักษณ์รถทัวร์แบบเดิมให้แตกต่างด้วยระบบบริการที่มองผิวเผินแล้วก็คล้ายๆกับการนั่งเครื่องบิน แม้ว่าจะมีราคาสูงกว่ารถทัวร์บริษัทอื่นๆระดับหนึ่ง แต่ในแง่กระแสตอบรับต้องถือว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างดี นอกจากนี้ แม้ว่าหลายครั้งที่โลว์คอสแอร์ไลน์จะหันมาเปิดสงครามราคาด้วยบางเส้นทางบินราคามีถูกกว่ารถทัวร์จนมีเสียงโอดครวญออกมาจากผู้ประกอบการบางราย แต่สำหรับนครชัยแอร์มองว่าฐานลูกค้าเหล่านั้นอยู่คนละกลุ่ม เพราะเป้าหมายตั้งไว้คือจะทำให้กลุ่มคนใช้ ‘รถยนตร์ส่วนตัว’ ซึ่งมีจำนวนมหาศาลหันมาใช้บริการรถทัวร์ได้อย่างไรต่างหาก และคงเป็นเช่นเดียวกับครั้งนี้ ที่ ‘สังคมเมือง’ กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วและ ‘เวลา’ กำลังเป็นปัจจัยที่สำคัญในวิถีชีวิตมากขึ้น ขณะเดียวกันระบบขนส่งสาธารณะอย่างเครือข่ายรถไฟฟ้า แม้จะมีแผนดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่ในความเป็นจริงเราคงยังต้องรอกันอีกหลายปีกว่าจะแล้วเสร็จ หากหันไปมองฝั่งรถเมลล์หรือแท็กซี่ที่เคยมีบ้างก็ต้องยอมรับว่าเสียงตัดพ้อก่นด่าจากผู้รับบริการนั้นมีสะท้อนออกมาไม่เว้นแต่ละวัน ไม่ว่าการปฏิเสธผู้โดยสาร การไม่กดมิเตอร์ ความปลอดภัย หรือแม้แต่มารยาทการให้บริการ นอกจากนี้ก็มีเรื่องของราคาที่มีข่าวคราวว่าจะขยับขึ้นกันอยู่เป็นระยะ ซึ่งด้วยนานาปัญหาของระบบบริการเดิมๆเหล่านี้ ที่ผ่านมา Uber แท็กซี่ หรือการใช้แอปพลิเคชั่นอย่าง Grab Taxi ได้เข้ามาช่วงชิงตลาดไปก่อนและกำลังเป็นกระแสนิยมขึ้น… Read more »
by
AED เพิ่มโอกาสรอดหัวใจวาย 45 เปอร์เซ็นต์
ติดตั้งเครื่อง AED จุดเสี่ยง เพิ่มโอกาสรอดหัวใจวาย 45 เปอร์เซ็นต์ สพฉ.มอบเครื่อง AED ช่วยชีวิตผู้ป่วยหัวใจวายให้ 30 องค์กรและสถานที่สาธารณะ หวังนำร่องรณรงค์ให้เจ้าของอาคารสถานที่เห็นความสำคัญในการติดตั้งเครื่อง AED เปนอุปกรณ์พื้นฐานเช่นเดียวกับถังดับเพลิง เพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้ผู้หัวใจวาย 45% เผยเตรียมออกระเบียบให้ ปชช.ที่ใช้เครื่องไม่ถูกฟ้อง หากช่วยชีวิตไม่สำเร็จ วันที่ 9 ก.พ. 58 เมื่อเวลา 09.00 น. ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง กทม. นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ร่วมเปิดงานมหกรรมรณรงค์เตรียมความพร้อมการช่วยฟื้นคืนชีพด้วยเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ Automated External Defibrillator (AED) ให้สถานที่สาธารณะที่มีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะฉุกเฉินติดตั้งเครื่อง AED โดยนำร่องมอบเครื่อง AED ให้แก่หน่วยงานราชการ สถานีขนส่ง และสถานที่สาธารณะต่างๆ จำนวน 30 องค์กรด้วย พร้อมสาธิตวิธีการใช้งานด้วย นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา สพฉ.พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน… Read more »
by