unnamed

รุ่นที่ 1   วันที่  17 -19 พฤษภาคม 2560

รุ่นที่ 2   วันที่  19 -21 กรกฎาคม 2560

  ณ ห้องบรรยายชั้น 4  ห้อง 6409 อาคารคุณแม่อบทิพย์

     คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

 

หลักการและเหตุผล 

การดูแลแบบประคับประคองในระยะท้ายของชีวิต ทวีความสำคัญและเป็นที่ต้องการของสังคมมากขึ้นจากแนวโน้มโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งประเทศไทยซึ่งได้เข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างชัดเจน นอกจากนี้อุบัติการณ์ของโรคร้ายแรง และโรคที่คุกคามต่อชีวิต เช่นโรคมะเร็ง และโรคเรื้อรังไม่ติดต่ออื่นๆมีจำนวนสูงขึ้น ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยในระยะท้ายของชีวิต มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าในแต่ละปีจะมีประชากรประมาณ 20 ล้าน ที่มีความต้องการการดูแลในระยะท้ายของชีวิต และประมาณร้อยละ 80 เป็นผู้ที่อยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลางร้อยละ 70 เป็นผู้สูงอายุ(อายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป) ในขณะที่ร้อยละ 6 เป็นเด็ก องค์การอนามัยโลก จึงได้ประกาศให้ทุกประเทศได้บูรณาการการดูแลแบบประคับประคอง เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาตลอดช่วงชีวิต (WHO, 2013) สำหรับประเทศไทยได้กำหนดและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติเฉพาะประเด็น โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะให้ทุกคนมีสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิตและตายดี (good death) ด้วยนโยบายระดับชาติทำให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขกำหนดนโยบายเร่งรัดการดำเนินการระบบการสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุและผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิงรวมทั้งผู้ป่วยในระยะท้ายของชีวิตให้เกิดผลเป็นรูปธรรมภายในหนึ่งปี และมีผลอย่างต่อเนื่องอย่างยั่งยืนโดยกำหนดให้มีการจัดตั้งหน่วยดูแลแบบประคับประคองโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่ง โดยมีพยาบาลที่ผ่านการอบรมปฏิบัติงานเต็มเวลา อย่างน้อย 1 คน และขยายให้ครอบคลุมโรงพยาบาลชุมชนอีก 300 แห่ง ภายในปี 2558

 

วัตถุประสงค์  เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม

1.  มีทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการดูแลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองอย่างเป็นองค์รวม

2.  มีความรู้ในการเลือกใช้เครื่องมือการประเมินความปวดและอาการต่างๆ สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการจัดการความปวดและบรรเทาอาการต่างๆ ได้

3.  มีความรู้เรื่องการสื่อสารเพื่อการเยียวยา สามารถช่วยเหลือให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถปรับตัวกับความสูญเสีย/ความเศร้าโศกในเบื้องต้นได้

4.  สามารถอธิบายหลักการประสานงานและการทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพในการดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและญาติ ในบริบทที่มีความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม บนพื้นฐานด้านจริยธรรม กฎหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพ

 

กำหนดการการอบรม

   รุ่นที่ 1  วันที่ 17 – 19 พฤษภาคม 2560

   รุ่นที่ 2  วันที่ 19 – 21 กรกฎาคม 2560

   วันที่ 17 พฤษภาคม 2560 และวันที่ 19  กรกฎาคม 2560

 

เวลา 7.30 – 8.00 น.

ลงทะเบียนและพิธีเปิดการอบรม
เวลา 8.00 – 10.00 น. Basic Concepts & Nursing Ethics in Palliative Careรศ.ดร.ทัศนีย์  ทองประทีป
เวลา 10.00 – 12.00 น. National Health Policy & Service Plan in Palliative Careนพ.อุกฤษฏ์  มิลินทางกูร
เวลา 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 – 17.00 น. Comfort Care & Self-Healingอ.ดร.กัลยกร  ฉัตรแก้ว

 

 

 

วันที่ 18 พฤษภาคม 2560 และวันที่ 20  กรกฎาคม  2560

 

เวลา 8.00 – 10.00 น. Grief, Loss, Bereavement & Family Meetingรศ.ดร.ทัศนีย์  ทองประทีป
เวลา 10.00 – 12.00 น. Legal Issuesin Palliative Care & Advance Care Planningศ.แสวง  บุญเฉลิมวิภาส
เวลา 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 – 16.00 น. Therapeutic Communication Techniquesศ.นพ.อิศรางค์  นุชประยูร

 

วันที่ 19 พฤษภาคม 2560  และวันที่ 21 กรกฎาคม 2560

 

เวลา 8.00 – 10.30 น. Pain Assessment  and Medical Managementพญ.ฉันทนา  หมอกเจริญพงศ์
เวลา 10.30 – 12.00น. Caring for the Care Giverอ.วรรณา  จารุสมบูรณ์
เวลา 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 – 15.30 น. Palliative Assessment &Management of Symptom at Last Hours of Lifeนพ.ภรเอก  มนัสวานิช
เวลา 15.30 – 16.00 น. พิธีปิดการอบรม และมอบสัมฤทธิบัตรโดย คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ 

 

ผู้เข้าร่วมประชุม

-          พยาบาลวิชาชีพที่สนใจและปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหรือชุมชนที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง

-          รับจำนวน รุ่นละ 100 คน

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้ผ่านการอบรมสามารถนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคองไปประยุกต์ใช้ในการพยาบาล และ/หรือสามารถให้คำแนะนำ ปรึกษา และ/หรือส่งต่อผู้ป่วยกลุ่มนี้เพื่อการดูแลรักษาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

2. ผู้ผ่านการอบรมตระหนักในจริยธรรมและ

คำนึงถึงสิทธิผู้ป่วยและญาติในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

3. ประชาชน /ผู้รับบริการได้รับการดูแลอย่าง

มีคุณภาพและเป็นองค์รวม

 

หน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง

อยู่ระหว่างดำเนินการขอหน่วยคะแนน

จากสภาการพยาบาล

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

 

ค่าลงทะเบียน

ค่าลงทะเบียน จำนวน 1,500 บาท  (หนึ่งพันห้าร้อยบาทถ้วน) รวมค่าอาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารประกอบการประชุมและสัมฤทธิ์บัตร

 

 

วิธีลงทะเบียน

1.  ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าอบรมสามารถดาวน์โหลด ใบสมัครพร้อมระเบียบการรับสมัครได้ที่

เว็บไซต์ http://www.kcn.ac.th

รุ่นที่ 1 ตั้งแต่ วันที่ 11 เม.ย. – 9 พ.ค. 2560

รุ่นที่ 2 ตั้งแต่ วันที่ 11 เม.ย. – 12 ก.ค. 2560

2.  นำใบจ่ายเงินค่าลงทะเบียน จำนวน 1,500 บาท  (หนึ่งพันห้าร้อยบาทถ้วน) ไปจ่ายผ่านเคาน์เตอร์

บริการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

3.  ส่งใบสมัครและหลักฐานการโอนเงินที่

คุณนิทรา  อยู่พัฒนะวงศ์

โทรสาร 02 241 6527

 

ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

น.ส.ศิรประภา  แสงอรุณ  081 381 2772

น.ส.อัญชุลี  มั่งเจียม  086 769 6124

 

คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์

131/5 ถนนขาว เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์ 02 241 6520  โทรสาร 02 241 6527

Posted by & filed under ข่าวประชาสัมพันธ์.