Download

ดาวน์โหลด Template Proceeding  ==>

 

สแกน QR Code ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี 2561 มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช  

QR Code
หรือคลิ๊กที่นี่ http://goo.gl/oem5Ne

 

Untitled-17

 

ดาวน์โหลดกำหนดการประชุมวิชาการคลิ๊กที่นี่


กำหนดการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

กำหนดการประชุมวิชาการ_Page_1 กำหนดการประชุมวิชาการ_Page_2 กำหนดการประชุมวิชาการ_Page_3 กำหนดการประชุมวิชาการ_Page_4

คำชี้แจงการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์

 

การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 1 ของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ประจำปี 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้วยการนำเสนอบทความวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ภายใต้หัวข้อ“Networking in the Smart City Collaboration of Smart Health and Smart Community” ในสามเนื้อหาคือ Smart City, Smart Health, และ Smart Community จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-13 กรกฎาคม 2561 ณ โรงแรมเดอะรอยัล
ริเวอร์ บางพลัด กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยมีความยินดีและขอขอบคุณผู้นิพนธ์ทุกท่านที่ให้ความสำคัญและนำผลงานทางวิชาการอันเป็นประโยชน์แก่สังคมเมืองมาเผยแพร่ในการประชุม ซึ่งเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักวิชาการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงวิชาการด้านการแพทย์ การพยาบาลและการสาธารณสุข รวมถึงด้านการพัฒนาเมืองและมหานคร เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ในการดูแลส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพคนเมืองต่อไป

 

บทความวิชาการ/ผลงานวิจัยที่ผู้นิพนธ์ส่งมาครั้งนี้จะได้รับการกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ อย่างน้อย 2 ท่าน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหาบทความ ส่วนผลงานวิจัย
จะได้รับการพิจารณาทางจริยธรรม วิธีการดำเนินการวิจัย ความถูกต้อง ความชัดเจนในการนำเสนอ รายชื่อของ     ผู้นิพนธ์และผู้กลั่นกรองจะได้รับการปกปิดโดยกองบรรณาธิการก่อนส่งเอกสารไปให้ผู้เกี่ยวข้องทั้ง 2 ฝ่าย       กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขบทความ/ผลงานวิจัยก่อนพิจารณาตีพิมพ์ ทั้งนี้ข้อความและความคิดเห็นในบทความนั้น ๆ เป็นของเจ้าของบทความโดยตรง

เนื้อหาหลัก ในส่วนของผลงานวิจัยประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ บทนำ วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย การอภิปรายผลและสรุปผลการวิจัย สำหรับบทความวิชาการ ให้ปรับหัวข้อหลักตามความเหมาะสมกับบทความนั้น ๆ

บทความวิชาการ/ผลงานวิจัยที่ส่งมาต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ที่ใด ๆ สำหรับผลงานวิจัยที่ทำการศึกษาในคน จะต้องมีหนังสืออนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการศึกษาวิจัยในมนุษย์แนบมาด้วย กรณีที่บทความได้รับการตีพิมพ์ Proceedings ของการประชุมครั้งนี้แล้ว ผู้นิพนธ์สามารถ download สำเนาเอกสารได้ภายหลังหนังสือเผยแพร่เรียบร้อยแล้วและไม่สามารถนำบทความดังกล่าวไปนำเสนอหรือตีพิมพ์ในรูปแบบใด ๆ ที่อื่นได้ ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

 

หลักเกณฑ์ทั่วไปในการเตรียมและส่งต้นฉบับ

การส่งต้นฉบับให้ส่งไฟล์งานที่สมบูรณ์จำนวน 2 ไฟล์คือ
รูปแบบของ pdf. File และ Microsoft word 2013

ขนาดอักษร font TH SarabunPSK 16

พิมพ์หน้าเดียวบนกระดาษ A4 ตาม Template ที่กำหนด

ส่งต้นฉบับทาง Email address ถึง ผศ. ดร. บุญทิวา สู่วิทย์ (boontiva@nmu.ac.th) และ
ผศ. ดร. ขจี พงศธรวิบูลย์ (khachee@nmu.ac.th)

 

คำแนะนำการเตรียมโปสเตอร์เสนอผลงานวิชาการ

ผู้นำเสนอผลงานทางวิชาการโดยโปสเตอร์สามารถเตรียมโปสเตอร์ได้ดังนี้

  1. ขนาดโปสเตอร์​ 80×150 เซ็นติเมตร
  2. นำเสนอเนื้อหาตามรูปแบบของบทคัดย่อที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้าเสนอผลงาน
  3. ใช้ชื่อเรื่องเดียวกับที่ระบุไว้ในบทคัดย่อ ขนาดตัวหนังสือของชื่อเรื่องประมาณ 48
  4. ระบุชื่อ สถาบัน ของผู้นำเสนอบนโปสเตอร์​
  5. ตัวหนังสือสามารถมองเห็นได้ชัดในระยะ 2 เมตร และเนื้อหาทั่วไปมีขนาดระหว่าง 24 ถึง 32 เลือกตัวหนังสือที่เหมาะสมและอ่านได้ง่าย
  6. ใช้รูปภาพ ตาราง และสี อย่างเหมาะสม
  7. ทางมหาวิทยาลัยจะเตรียมบอร์ดสำหรับติดโปสเตอร์ ไว้ในห้องจัดแสดง

ระยะเวลาที่กำหนด

เปิดรับบทคัดย่อและรายงานฉบับเต็ม (Abstract and Full Paper) 19 เม.ย. 2561 ถึง 30 พ.ค. 2561

แจ้งผลการตอบรับบทความ                          หลังรับบทความ 7 วัน ถึง 22 พ.ค.2561

ปิดรับบทความฉบับแก้ไขสมบูรณ์                                                       30 พฤษภาคม 2561

 

เอกสารอ้างอิง

ให้ใส่หมายเลข 1, 2, 3 ไว้ท้ายประโยคโดยพิมพ์ตัวยกสูงโดยไม่ต้องใส่วงเล็บ เอกสารที่อ้างอิงเป็นอันดับแรกให้จัดเป็นหมายเลข 1 และเรียงลำดับก่อนหลังต่อ ๆ ไป หากไม่มีความจำเป็นไม่ควรอ้างอิง abstract, unpublished paper, in press หรือ personal communication นิพนธ์ต้นฉบับควรมีเอกสารอ้างอิงไม่เกิน 30 รายการ และไม่ควรใช้เอกสารอ้างอิงที่เก่าเกินไป เอกสารอ้างอิงทั้งหมด รวมทั้งเอกสารอ้างอิงภาษาไทย ให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ โดยเขียนตาม Vancouver guideline ซึ่งกำหนดโดย International Committee of Medical Journal Editors มีหลักโดยย่อดังนี้

ชื่อผู้เขียน ให้ใช้ชื่อสกุลตามด้วย อักษรแรกของชื่อต้นและชื่อกลางเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ใส่ชื่อผู้เขียนทุกคนคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ถ้าเกิน 6 คน ใส่ชื่อ 6 คนแรก ตามด้วย et al หรือ และคณะ

การอ้างอิงวารสาร ให้ใส่ชื่อผู้เขียน. ชื่อเรื่อง. ชื่อย่อวารสารตาม index medicus. ปี ค.ศ.;ปีที่ (volume):หน้าแรกถึงหน้าสุดท้ายโดยเลขหน้าที่ซ้ำกันไม่ต้องเขียน เช่น หน้า 124 ถึงหน้า 128 ให้เขียน 124-8.

ตัวอย่าง :

  1. Tangjitgamol S, Hanprasertpong J, Manusirivithaya S, Wootipoom V, Thavaramara T, Buhachat R. Malignant ovarian germ cell tumors: clinico-pathological presentation and survival outcomes. Acta Obstet Gynecol Scand. 2010;89:182-9.

การอ้างอิงหนังสือตำรา ให้เขียน ชื่อผู้เขียน. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์ (ถ้าพิมพ์ครั้งแรกไม่ต้องเขียน).
ชื่อเมือง (ใช้ชื่อเมืองแรกชื่อเดียว): ชื่อโรงพิมพ์, ค.ศ. p. หน้าแรกถึงหน้าสุดท้าย.

ตัวอย่าง :

  1. Straus SE, Richardson WS, Glasziou P, Haynes RB. Evidence based medicine: How to practice and teach EBM.3rd ed. Edinburgh: Churchill Livingstone; 2005; 454 p.

การอ้างอิงบทหนึ่งในหนังสือตำรา ให้เขียน ชื่อผู้เขียน. ชื่อเรื่อง. ใน : ชื่อบรรณาธิการ, ed (s). ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์ (ถ้าพิมพ์ครั้งแรกไม่ต้องเขียน). ชื่อเมือง: ชื่อโรงพิมพ์, ปี ค.ศ. p. หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

ตัวอย่าง :

  1. Meltzer PS, Kallioniemi A, Trent JM. Chromosome alterations in human solid tumors.
    In: Vogelstein B, Kinzler KW, editors. The genetic basis of human cancer. New York: McGraw-Hill; 2002. p. 93-113.

การอ้างอิงบทคัดย่อจากที่ประชุมวิชาการ(published proceedings paper)

ตัวอย่าง :

  1. Christensen S, Oppacher F. An analysis of Koza’s computational effort statistic for genetic programming. In: Foster JA, Lutton E, Miller J, Ryan C, Tettamanzi AG, editors. Genetic programming: EuroGP 2002. Proceedings of the 5th European Conference on Genetic Programming; 2002 April 3-5; Kinsdale, Ireland. Berlin: Springer; 2002. p. 182-91.

การอ้างอิงจากวารสาร/ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์

ตัวอย่าง :

  1. International Committee of Medical Journal Editors. Uniform requirements for manuscripts submitted to biomedical journals: writing and editing for biomedical publication. Available from: http://www.icmje.org/urm_main.html

 

 

การอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์

ตัวอย่าง :

  1. Borkowski MM. Infant sleep and feeding: a telephone survey of Hispanic Americans [dissertation]. Mount Pleasant (MI): Central Michigan University; 2002.

การแก้ไขบทความเพื่อส่งตีพิมพ์

ผู้นิพนธ์ต้องแก้ไขบทความและอธิบายชี้แจงข้อสงสัยตามที่ผู้กลั่นกรองและกองบรรณาธิการให้ข้อเสนอแนะให้ครบทุกประเด็น และควรเน้นหรือขีดเส้นใต้ส่วนที่ได้แก้ไขในบทความพร้อมทั้งมีจดหมายสั้น ๆ ระบุว่าได้แก้ไขในประเด็นใดบ้าง รวมทั้งอธิบายเหตุผลในประเด็นที่ไม่ได้แก้ไขตามข้อเสนอแนะ

ผู้นิพนธ์ต้องส่งคืนบทความที่แก้ไขฉบับสมบูรณ์ทาง Email address ที่กำหนด ภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2561 หรือตามประกาศทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย (www.nmu.ac.th) หลังได้รับบทความ หาก
ผู้นิพนธ์ไม่ส่งบทความฉบับแก้ไขสมบูรณ์คืน หรือไม่ได้แก้ไขบทความตามคำแนะนำ กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์การรับตีพิมพ์ใน proceedings ของการประชุมวิชาการครั้งนี้

 

 

                                                               กองบรรณาธิการ 2561

                             การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 1 ของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ประจำปี 2561

Posted by & filed under ข่าวประชาสัมพันธ์.