Download

โครงการ พยาบาลกับการจัดการภัยพิบัติ

 

โครงการการประชุมวิชาการ เรื่อง “พยาบาลกับการจัดการภัยพิบัติ”

จัดโดย คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ ร่วมกับคณะกรรมการโครงการจัดตั้งศูนย์บริการวิชาการ

มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

 

หลักการและเหตุผล

กรุงเทพมหานครเป็นเมืองขนาดใหญ่มีความหลากหลายและมีความซับซ้อนในหลายมิติของปัญหาการจัดการเมืองในหลายๆ ด้าน อีกทั้งภัยพิบัติทางธรรมชาติ ยังคงมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และซับซ้อนมากขึ้นเนื่องจากความแปรปรวนของภูมิอากาศโลก ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติประกอบกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมเมืองอย่างรวดเร็ว ชาวพระนครจึงมีโอกาสเสี่ยงภัยเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความเสียหายรุนแรงมากขึ้น ทั้งจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ อาทิ อุทกภัย วาตภัย ภัยแล้ง ภัยหนาว และภัยจากการกระทำของมนุษย์ อาทิ อัคคีภัย อุบัติภัยการรั่วไหลของสารเคมีอันตราย การก่อการร้าย การจลาจล

การบริหารจัดการภัยพิบัติของกรุงเทพมหานครในช่วงที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละด้าน มีแผนปฏิบัติการมากมาย แต่ยังมีปัจจัยที่เป็นจุดอ่อนอีกหลายประการ ที่จำเป็นต้องพัฒนาเข้าสู่ระบบสากล รวมทั้งเป็นการรวมพลังประสานความร่วมมือ และระดมทรัพยากรจากทุกหน่วยงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ และการประสานงานที่มีการบูรณาการได้อย่างเป็นเอกภาพ  ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกัน บรรเทา และลดความเสียหายหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนเพื่อให้การจัดการด้านภัยพิบัติและภัยด้านความมั่นคง เกิดความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ตลอดเวลา นับเป็นอีกครั้งในการร่วมประสานความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านภัยพิบัติ  ความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมด้านความรู้ให้แก่พยาบาลในการรองรับสถานการณ์ตั้งแต่ในภาวะสถานการณ์ปกติและเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติขึ้น จะช่วยให้พยาบาลสามารถปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉินได้อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดความอบอุ่นใจ  ความปลอดภัยแก่ประชาชน ซึ่งจะมั่นใจในการที่จะมีชีวิตรอดปลอดภัยจากภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นได้

คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ และคณะกรรมการโครงการจัดตั้งศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัย   นวมินทราธิราช เห็นความสำคัญในบทบาทพยาบาลที่เกี่ยวข้องในงานด้านภัยพิบัติ เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่พยาบาลในการรับมือกับภัยพิบัติตลอดจนการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานด้านการจัดการภัยพิบัติ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่พยาบาลควรได้เรียนรู้  เพื่อนำไปสู่การวางแผน  หรือให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการกับภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงได้จัดประชุมวิชาการเรื่อง “พยาบาลกับการจัดการภัยพิบัติ” เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านภัยพิบัติ การบริหารจัดการระบบการพยาบาลฉุกเฉิน การพยาบาลภาวะวิกฤต การพยาบาลหลังภาวะวิกฤต    และการเตรียมความพร้อมของพยาบาลวิชาชีพในการรับมือกับภัยพิบัติในอนาคตต่อไป

วัตถุประสงค์

1.  เพื่อให้ผู้เข้าประชุมวิชาการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยพิบัติของโลกและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

2.  เพื่อให้ผู้เข้าประชุมวิชาการมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับบทบาทของพยาบาล ที่เกี่ยวข้องในงานด้านภัยพิบัติ เพื่อเตรียมความพร้อมของพยาบาลในการรับมือกับภัยพิบัติของชาติ

3.  เพื่อให้ผู้เข้าประชุมวิชาการมีความรู้ความเข้าใจในสมรรถนะที่พึงประสงค์ของพยาบาลในการดำเนินงานด้านการจัดการภัยพิบัติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ประสบภัย

4.  เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการจัดการรับมือกับภัยพิบัติและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ

5.  เพื่อทำให้สังคมเล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญด้านภัยพิบัติ สร้างเครือข่ายความร่วมมือการทำงานด้านภัยพิบัติ

 ผู้รับผิดชอบโครงการ

          คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ ร่วมกับคณะกรรมการโครงการจัดตั้งศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

 ค่าลงทะเบียน

ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมวิชาการคนละ ๖๐๐ บาท

กำหนดการรับสมัคร

ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2557

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  ผู้เข้าประชุมได้รับความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ภัยพิบัติของโลกและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มมากขึ้น

2.  ผู้เข้าประชุมได้รับความรู้เกี่ยวกับบทบาทของพยาบาลที่เกี่ยวข้องในงานด้านภัยพิบัติ เพื่อเตรียมความพร้อมของพยาบาลในการรับมือกับภัยพิบัติของชาติ

3.  ผู้เข้าประชุมสามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานด้านการจัดการภัยพิบัติและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ

4.  มีเครือข่ายพยาบาลด้านภัยพิบัติระหว่างคณะและหรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

กำหนดการ

การประชุมวิชาการเรื่อง “พยาบาลกับการจัดการภัยพิบัติ”

จัดโดย คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ ร่วมกับคณะกรรมการโครงการจัดตั้งศูนย์บริการวิชาการ

มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

 

วันที่  25 ธันวาคม 2557

เวลา 08.00 – 08.30 น.  ลงทะเบียน

เวลา 08.30 – 09.00 น.  พิธีเปิดการประชุม โดย ดร.พิจิตต  รัตตกุล  อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

เวลา 09.00 – 10.30 น.  การบรรยายเรื่อง  นโยบายด้านการจัดการภัยพิบัติของไทยและความร่วมมือระหว่าง

     อาเซียนโดย ดร.พิจิตต  รัตตกุล 

เวลา 10.30– 12.00 น.  การบรรยายเรื่อง บทบาทของพยาบาลที่เกี่ยวข้องในงานด้านภัยพิบัติเพื่อเตรียม

    ความพร้อมของพยาบาลในการรับมือกับภัยพิบัติของชาติ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริอร  สินธุ

เวลา 12.00– 13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 – 14.30 น.  การบรรยายเรื่อง Emergency Traumatic Caring in Disaster

     โดย นายแพทย์ยุทธพงศ์  วงษ์มหิศร

เวลา 14.30– 16.00 น.  การบรรยายเรื่อง  แผนปฏิบัติการเพื่อรับมือเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินจากภัยพิบัติด้าน

    การแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุข

    โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพรรณ  โตสิงห์

วันที่  26 ธันวาคม 2557

เวลา 08.00 – 08.30 น.  ลงทะเบียน

เวลา 08.30 – 12.00 น.  การเสวนาเรื่องการป้องกันและรับมือเหตุการณ์สาธารณภัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

     โดย     รองศาสตราจารย์ ดร.หรรษา  สงวนน้อย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรรณเพ็ญ  อินทร์แก้ว

            อาจารย์อุบล  ยี่เอ็ง นายแพทย์ฉัตรบดินทร์  เจตนะศิลปิน 

     ดำเนินการเสวนา โดย อาจารย์เสาวลักษณ์  ทำมาก

เวลา 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00– 16.00 น. พยาบาลกับงานวิจัยด้านภัยพิบัติ

   โดย     อาจารย์จักรภพ  ธาตุสุวรรณ ดร.สุกฤตา  สุวรรณกฤติ และนักวิจัย

   ดำเนินการอภิปราย โดย อาจารย์ ดร.จันทรรัตน์  วงศ์อารีย์สวัสดิ์

 

     หมายเหตุ    พักรับประทานอาหารว่างเวลา 10.00 – 10.10 น. และ 14.30 – 14.40 น. ในระหว่างการประชุม

สามารถ Download แบบตอบรับเข้าร่วมประชุมวิชาการ ได้ที่มุมขวาด้านบน

งานประชาสัมพันธ์
โทร 02 244 3860
Email:askans.rector@gmail.com

Posted by & filed under ศูนย์บริการวิชาการ.