ลงนาม MOU นวมินทร์-ราชมงคลพระนคร

IMG_3919 c

ลงนาม MOU นวมินทร์-ราชมงคลพระนคร   เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 57 มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการจัดการศึกษาและวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช โดยมี ดร.พิจิตต รัตตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และ รศ.สุภัทรา โกศัยกานนท์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครเป็นผู้ลงนาม ดร.พิจิตต กล่าวว่า ทั้งสองมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ใกล้กันจึงมีอะไรที่จะร่วมมือกันได้มาก ทั้งนี้ ส่วนงานวิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร (วชม.) ในสังกัดมหาวิทยาลัยน่าจะมีลักษณะใกล้เคียงชิดกับหลักสูตรการเรียนการสอนและกิจกรรมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลฯ มากที่สุด โดย วชม.มีหลักสูตรอบรมระยะสั้นสำหรับบุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานครและภาคเอกชน ในขณะที่เรื่องอาชีวศึกษาในประเทศไทย ทางมหาวิทยาลัยราชมงคลฯเคยทำมาไม่น้อยก่อนจะปรับเป็นการเรียนการสอนระดับปริญญา ดังนั้นพื้นฐานความแข็งแรงจึงยังคงอยู่ซึ่งความร่วมมือนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนที่ วชม. “ในส่วนวิทยาลัยฝึกอาชีพทั้ง 10 แห่งของ กทม. มีนักเรียนมาฝึกอาชีพมากมายในแต่ละปี แต่ยังขาด Content ซึ่งในส่วนนี้มหาวิทยาลัยราชมงคลฯ เพื่อนของเรา มีประสบการณ์ด้านวิชาการจะมาเติมเต็ม สามารถทำให้โรงเรียนฝึกอาชีพของ กทม.ทั้ง 10 แห่งได้ประโยชน์สูงสุด” นอกจากนี้ ดร.พิจิตรยังกล่าวด้วยว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะสามารถดึงเอามหาวิทยาลัยราชมงคลฯเข้ามาอยู่ในแวดวงของ กทม. และจะมีส่วนสำคัญในการที่ขับเคลื่อนกทม.ร่วมกันในหลายด้านต่อไปในวันข้างหน้า… Read more »

by

อนาคตอันใกล้ ผู้ชายอาจอุ้มท้องแทนได้

116191

อนาคตอันใกล้ ผู้ชายอาจอุ้มท้องแทนได้    เทคโนโลยีก้าวหน้าเมื่อนักวิทยาศาสตร์ประดิษฐ์ครรภ์เทียมสำหรับฝังตัวอ่อน และสามารถนำไปฝากไว้ในหน้าท้องผู้ชาย ให้ฝ่ายชายเป็นคนอุ้มท้องแทนฝ่ายหญิง ในกรณีฝ่ายหญิงมีภาวะเสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่รองรับครอบครัวที่ต้องการมีลูกแต่ติดปัญหาที่ฝ่ายหญิงไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ด้วยเหตุผลเช่น ฝ่ายหญิงมีโรคประจำตัว ซึ่งอาจทำให้ครรภ์เป็นพิษได้เมื่อตั้งครรภ์ หรือประสบปัญหาตัวอ่อนฝังตัวนอกมดลูก หรือปัญหาอีกหลายประการที่ทำให้ครอบครัวไม่สมบูณ์อย่างที่ควรเป็น แต่ปัญหาที่ว่านี้จะหมดไปเมื่อนักวิทยาศาสตร์จากหลายมหาวิทยาลัยในทั่วโลก ได้คิดค้นวิธีฝังตัวอ่านเข้าไปในครรภ์เทียมและเลี้ยงให้เจริญเติบโตภายนอกร่างกาย อีกทั้งครรภ์เทียมนี้ยังสามารถฝังในร่างกายของผู้ชาย ให้ฝ่ายชายเป็นคนอุ้มท้องแทนคนรัก ครรภ์เทียมทดลองสำเร็จกับตัวอ่อนของหนู ที่นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ในสหรัฐ นำตัวอ่อนของหนูไปเพาะเลี้ยงในถุงที่เรียกว่าครรภ์เทียม ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์หลายท่านลงความเห็นว่า ครรภ์เทียมที่ว่านี้ต้องพัฒนาอีกมาก อาจกินเวลานานร่วม 20 ปี จนกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ทำให้ฝ่ายชายสามารถอุ้มท้องแทนฝ่ายหญิงได้ ก่อนจะถึงเวลานั้นฝ่ายหญิงก็ยังต้องเป็นฝ่ายอุ้มท้องรอไปก่อน ที่มา : news.com.au แปล : http://shows.voicetv.co.th/voice-news/116191.html ภาพ flickr : Jerry Lai งานประชาสัมพันธ์โทร 02 244 3860Email:askans.rector@gmail.com

by

ม.นวมินทร์เปิดอบรม ‘พนักงานช่วยเหลือผู้ป่วย’

แพทยศาสตร์1

ม.นวมินทร์เปิดอบรม ‘พนักงานช่วยเหลือผู้ป่วย’ รุ่นแรก วางเป้าเสริมบุคลากรหนุน ‘วชิรพยาบาล’   มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตร 6 เดือน อบรม ‘พนักงานช่วยเหลือผู้ป่วย’ รุ่นแรก รับผู้สมัครอายุ 18 ปีขึ้นไป สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมตอนปลาย (ม.6) ไม่เสียค่าใช้จ่าย รุ่นแรกเริ่มเรียน 1 ก.ย. 57 นี้ น.ส.ธัญชนก บุตรจันทร์ กรรมการดำเนินการโครงการฯ กล่าวว่า ปัจจุบันอัตรากำลังและบุคลากรด้านการแพทย์ตามโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศมีความขาดแคลนรวมทั้งวชิรพยาบาลซึ่งเป็นโรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช การมีพนักงานช่วยเหลือผู้ป่วยจะช่วยผ่อนภาระงานของแพทย์และพยาบาลได้ โดยปัจจุบันเรามีอัตรากำลังด้านนี้ราว 30 คน ในขณะที่หลายโรงพยาบาลมีพนักงานช่วยเหลือผู้ป่วยถึงร้อยคน ดังนั้น หลักสูตรนี้จึงเหมือนรับผู้อบรมมาทำงานกับวชิรพยาบาลเลย สำหรับจุดเด่นของหลักสูตรนี้ที่แตกต่างไปจากการอบรมที่อื่นๆ น.ส. ธัญชนก กล่าวว่า เรามีศักยภาพที่จะจัดการอบรมที่ดีได้ เท่าที่เห็นการอบรมของที่อื่นจะไม่มีแพทย์มาเป็นผู้ให้การอบรมรวมทั้งอาจไม่ใช่พยาบาล แต่เนื้อหาที่ให้ความรู้ของเราจะมีทั้งแพทย์และพยาบาลเป็นผู้อบรม เป็นการจัดหลักสูตรร่วมกันทั้งคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์และคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล รวมทั้งระยะเวลาการอบรมจะยาวกว่าที่อื่นๆ คือใช้เวลาทั้งสิ้น 6 เดือน ในขณะที่การอบรมที่อื่นจะอยู่ที่ประมาณ 4 เดือน “ศักยภาพที่ผู้เข้าอบรมจะได้คือทักษะความรู้ เขาจะรู้จักความซับซ้อนของคนไข้ในระดับเดียวกับที่โรงพยาบาลเราพบ เพราะเราจะให้เขาฝึกปฏิบัติจริงจากโรงพยาบาลและฝึกฝนให้เชี่ยวชาญด้วย เนื่องจากเราหวังจะให้เขาทำงานกับเราต่อไป” น.ส.ธัญชนก… Read more »

by

‘จิตอาสา’ หนุ่ม18 วาดแผนที่สายรถเมล์เอื้อประโยชน์คนเดินทาง

EyWwB5WU57MYnKOuFBn8TNhJfZtjdgVEl6UEZdR1RHVfAPDqY76uyw

‘จิตอาสา’ หนุ่ม18 วาดแผนที่สายรถเมล์เอื้อประโยชน์คนเดินทาง   นักศึกษาวัย 18 ปี สร้างแผนที่สายรถเมล์วาดด้วยลายมือตัวเองให้ ขสมก. นำไปใช้เผยแพร่เพื่อความเข้าใจ หลังพบว่าระบบการเดินทางด้วยรถสาธารณะโดยเฉพาะรถเมล์ในเขตกรุงเทพมหานคร ไม่เอื้อประโยชน์ต่อคนท้องถิ่นและคนต่างถิ่น “ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์” ได้รับข้อมูลจาก น.ส.โชติกา ดำรงวัฒนสุข หรือ เรียม พนักงานเก็บสตางค์รถโดยสารประจำทางสาย 29 ปัจจุบันอยู่ประจำป้อมประชาสัมพันธ์ ขสมก. บริเวณป้ายรถเมล์จตุจักร ถึงที่มาของข้อมูลป้ายรถเมล์ดังกล่าว ว่า สร้างแผนที่สายรถเมล์วาดด้วยลายมือตัวเอง ให้ ขสมก. นำไปใช้เผยแพร่ จึงไปตรวจสอบ น.ส.โชติกา เปิดเผยว่า คนทำป้ายนี้ชื่อ “กอล์ฟ” เป็นเด็กเรียนดี เคยได้รับทุนการศึกษาเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ประเทศญี่ปุ่น “กอล์ฟ” เป็นที่รู้จักของคนรถเมล์ทุกคน เนื่องจากเป็นเด็กดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นแฟนพันธุ์แท้รถเมล์คนหนึ่งเลยก็ว่าได้ รู้ข้อมูลสายรถเมล์มากกว่าพนักงาน ขสมก. พูดได้ถึง 6 ภาษา คือ เกาหลี, จีน, เยอรมัน, เวียดนาม, ฝรั่งเศส และ อังกฤษ ชอบช่วยเหลือนักท่องเที่ยว พร้อมโชว์แผนที่วาดด้วยมือของเจ้ากอล์ฟ ที่ระบุข้อมูลรถเมล์ทุกสาย… Read more »

by

2 ผู้ป่วยอเมริกันติดเชื้อ Ebola หายแล้ว

Emory Hospital Releases American Aid Workers Treated For Ebola

2 ผู้ป่วยอเมริกันติดเชื้อ Ebola หายแล้ว   สองมิชชันนารีชาวอเมริกันที่ติดเชื้ออีโบลา หายดีแล้ว หลังได้รับยาทดลองซีแมพพ์ (ZMapp)  เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานข่าวดีเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยอีโบลาว่า มิชชันนารีชาวอเมริกัน 2 ราย ที่ติดเชื้ออีโบลาจากแอฟริกาตะวันตก หายดีแบบไร้เชื้ออีโบลาในร่างกายแล้ว หลังจากทีมแพทย์อเมริกันใช้ยาซีแมพพ์ (ZMapp) ทดลองรักษา แต่ยังไม่อาจประกาศว่ายาตัวนี้รักษาอีโบลาได้ จากการทดลองที่สำเร็จในผู้ป่วย 2 คนเท่านั้น รายงานระบุว่า นายแพทย์เคนท์ แบรนท์ลี และแนนซี่ ไรท์โบล สองมิชชันนารีชาวอเมริกันที่ทำงานช่วยเหลือผู้ป่วยในไลบีเรีย ถูกส่งตัวกลับมารักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเอโมรี่ ในสหรัฐฯ หลังจากที่ติดเชื้ออีโบลาเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยตลอดระยะเวลาที่ทั้งคู่รักษาตัวอยู่ในแผนกกักกันพิเศษที่โรงพยาบาล ทีมแพทย์ได้ใช้ยาทดลองซีแมพพ์ (ZMapp) กับพวกเขา ก่อนที่อาการจะค่อยๆดีขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งล่าสุด ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ก็ได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว หลังจากผลการตรวจเลือดและปัสสาวะของทั้งคู่ปรากฏออกมาว่าไม่มีเชื้ออีโบลาอีกต่อไป จากการแถลงข่าวของนายแพทย์เคนท์ แบรนท์ลี เมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา นายแพทย์แบรนท์ลีย์เปิดเผยด้วยใบหน้ายิ้มแย้มว่า เขารู้สึกดีใจมากที่อาการดีขึ้น รอดชีวิตมาได้ และได้กลับไปอยู่กับครอบครัวอีกครั้ง… Read more »

by