ม.นวมินทร์ จัดประชุมใหญ่ ‘พยาบาล’ รับมือ ‘ภัยพิบัติ’
ม.นวมินทร์ จัดประชุมใหญ่ ‘พยาบาล’ รับมือ ‘ภัยพิบัติ’ (25 ธันวาคม 2557) ดร.พิจิตต รัตตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการเรื่อง ‘พยาบาลกับการจัดการภัยพิบัติ’ ซึ่งจัดโดย คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ ร่วมกับคณะกรรมการโครงการจัดตั้งศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ณ อาคารการุณย์สภา ห้องประชุมชั้น 4 ระหว่างวันที่ 25-26 ธันวาคม 2557 โดย มีผู้สนใจเข้าร่วมประชุมมากว่าสามร้อยคน โดย ดร.พิจิตต ได้กล่าวว่า ภัยพิบัติคือสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะสำหรับในเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ต่างๆ ซึ่งจะมีความรุนแรง ความถี่และความแปลกของเหตุการณ์ขึ้นเรื่อยๆ คนไทยเราเก่งเรื่องการฟื้นฟู ภายหลังจากการเกิดภัยพิบัติไปแล้วแต่ยังต้องเสริมเรื่องการเตรียมความพร้อมรับมือในระยะยาว วัตถุประสงค์ของการจัดประชุมทางวิชาการนี้จึงมุ่งตอบสนอง การจัดเตรียมความพร้อมของผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์และพยาบาล เพื่อรองรับภาวะภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น และในการนี้คณะพยาบาลศาสตร์ก็จะนำความรู้ที่ได้จากการประชุมวิชาการไปพัฒนาเพื่อก่อตั้งหลักสูตร EM Nursing (Emergency Medicine Nursing) ต่อไป ทั้งนี้ในการประชุมมีนักวิชาการที่มีความรู้มากมายหลายด้านให้เกียรติเป็นวิทยากร อาทิเช่น ดร.ศิริอร สินธุ ผู้มีบทบาทต่อการพัฒนาการพยาบาลระดับนานาชาติ และนายแพทย์ยุทธพงศ์ วงษ์มหิศร ศัลยแพทย์… Read more »
by
สอนให้เห็นภาพ:’สิทธิพิเศษ’ที่เรียกว่าการศึกษา
“เธอเป็นนักเรียน มีการศึกษา จงใช้ “สิทธิพิเศษ” ที่เรียกว่า “การศึกษา” ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด รวมถึงใช้มันช่วยเหลือคนที่อยู่ข้างหลังด้วย” ที่มา : http://www.kiitdoo.com ครูคนนี้สอนเด็กให้ตระหนักถึง “สิทธิพิเศษ” ที่ตัวเองมี ได้เจ๋งสุดๆ เขาทำยังไง? ดู! ถ้า คุณกำลังอ่านบทความนี้อยู่ คุณกำลังเพลิดเพลินอยู่กับ “Privilege” หรือ “สิทธิพิเศษ” บางอย่าง ที่คุณเองอาจจะไม่ตระหนักอยู่แน่ๆ บางทีคุณอาจจะมองข้ามความสำคัญของสิ่งที่คุณมี สิทธิพิเศษที่คุณมีไป ซึ่งแน่นอนว่าที่เราพูดนี่ อาจจะฟังเข้าใจยาก ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ แต่อาจารย์ของโรงเรียนมัธยมแห่งนี้ มีวิธีสอนที่ง่าย แต่ทรงพลังมาก ที่ทำให้เด็กๆ เข้าใจ “บทเรียน” นี้ อาจารย์ โรงเรียนนี้ต้องการสอนนักเรียนในเรื่อง “สิทธิพิเศษ” ที่พวกเขามี ด้วยการทำกิจกรรมอย่างหนึ่ง เริ่มต้นด้วย การแจกกระดาษคนละแผ่น และให้ทุกคนขยำเป็นลูกบอล หลังจากนั้น จึงมีการนำถังขยะมาวางไว้หน้าห้องเรียน “เธอคือตัวแทนของประชากรทั้งประเทศ และทุกคนมีโอกาสที่จะร่ำรวย หรือเลื่อนชั้นทางสังคม” “สิ่งที่ทุกคนต้องทำคือการปาลูกบอลกระดาษลงถัง ขณะที่ทุกคนยังอยู่กับที่” แน่นอนว่าคนที่นั่งหลังสุด บ่นว่า มันเป็นการยากสำหรับพวกเขาที่จะปาลงถัง เพราะนั่งไกลกว่า… Read more »
by
นวมินทร์ เปิดรับสมัคร พนง. มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็น พนง.มหาวิทยาลัย ด้วยมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จะดำเนินการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงาน มหาวิทยาลัยโดยวิธีทั่วไป สังกัดสำนักงานอธิการบดีและสังกัดสำนักงานสภามหาวิทยาลัย 1. ตำแหน่งที่รับสมัครคัดเลือก 1.1 ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไป บริหารระดับต้น จำนวน 1 อัตรา หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป 1.2 ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา บริหารระดับต้น จำนวน 1 อัตรา หัวหน้าฝ่ายวิชาการและประมวลผล 1.3 ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา บริหารระดับต้น จำนวน 1 อัตรา หัวหน้าฝ่ายกิจการนักศึกษา 1.4 ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผน บริหารระดับต้น จำนวน 1 อัตรา หัวหน้าฝ่ายการประชุมและกิจการสภามหาวิทยาลัย 1.5 ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี ระดับชำนาญการ จำนวน 1 อัตรา 1.6 ตำแหน่งนักวิชาการพัสดุ ระดับชำนาญการ จำนวน 1 อัตรา 1.7 ตำแหน่งนิติกร… Read more »
by
สภาแนะ ‘วพม.’ ปั้นหลักสูตร ‘ครู’ ป้อน กทม.แทนตั้ง ‘ครุศาสตร์’
สภาแนะ ‘วพม.’ ปั้นหลักสูตร ‘ครู’ ป้อน กทม.แทนตั้ง ‘ครุศาสตร์’ เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 57ดร.พิจิตต รัตตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ได้แจ้งให้สภามหาวิทยาลัยทราบถึงสถานการณ์ขาดแคลนบุคลากรครูของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยที่ผ่านมาได้ประชุมร่วมกับ ดร.ผุสดี ตามไท รองผู้ว่า กทม. ซึ่งดูแลสำนักการศึกษาและได้ให้ข้อมูลว่าครูในสังกัดกทม.มีความหมุนเวียนสูงเนื่องจากการขอย้ายกลับภูมิลำเนาบ่อยและมีปัญหาเรื่องสุขภาพ จึงได้ขอให้มหาวิทยาลัยช่วยหาแนวทางในการตั้งสถาบันการศึกษากทม.หรือคณะครุศาสตร์ที่มีคุณสมบัติพิเศษเกี่ยวกับกทม. โดยรองผู้ว่าจะสนับสนุนด้านงบประมาณเพิ่มเติมและยินดีให้ใช้บางส่วนของอาคารสำนักการศึกษาสำหรับการเรียนการสอน ทั้งนี้ ดร.พิจิตต กล่าวว่า ได้ให้นางวราภรณ์ สีหนาท รองอธิการบดีตั้งคณะทำงานขึ้นและมีการประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง หากทำโครงสร้างเบื้องต้นแล้วเสร็จจะขออนุมัติโครงการจัดตั้งคณะครุศาสตร์หรือคณะศึกษาศาสตร์ นอกจากนี้ อธิการบดียังกล่าวด้วยว่า ในการประชุมร่วมกับทางกทม.ครั้งต่อไปจะสะท้อนความคิดเห็นจากสภามหาวิทยาลัยเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนครูของกทม.ด้วย สำหรับที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมีความเห็นในทิศทางใกล้เคียงกันว่า ปัจจุบันคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆมีการผลิตครูจำนวนมากอยู่แล้ว โดย ศ.สุรพล นิติไกรพจน์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคณวุฒิ กล่าวว่า คณะครุศาสตร์มีมากเกินถึงสามเท่าในขณะที่งานก็มีเหลือน้อยในยุคของการลดอัตรากำลังราชการ แต่ก็เห็นปัญหาของกทม.เช่นกัน ส่วนวิธีแก้ไขเห็นว่าควรให้ทุนไปยังมหาวิทยา ลัยราชภัฏต่างๆซึ่งไม่มีปัญหาเรื่องความรู้ความสามารถและให้เสริมเนื้อหาที่เกี่ยวกับ กทม.เพิ่มไปในหลักสูตรด้วย ทั้งนี้ ศ.สุรพล กล่าวว่า หากมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชจะทำเรื่องนี้ควรจะเปิดเป็นการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทโดยอาจให้ไปอยู่ในโครงสร้างของวิทยาลัยพัฒนามหานคร(วพม.) เพื่อเป็นมาตรฐานเฉพาะให้รู้ในเรื่องที่เป็นความแตกต่างจากครูที่อยู่ต่างจังหวัด หรืออาจทำเป็นลักษณะของการออกประกาศนียบัตรให้ก็ “ถ้าเปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรีเมื่อไหร่อาจมีปัญหาตามมามากและเรายังไม่เคยสำรวจความต้องการของตลาดจริงจังเลย แต่ถ้ากทม.จะกำหนดมาตฐานที่พิเศษก็อาจไม่ต้องถึงกับเป็นคณะใหม่แต่ควรทำบนพื้นฐานศึกษาทั่วไปที่เป็นความเชี่ยวชาญชำนาญของนวมินทร์จากฐานที่มี”… Read more »
by